ตะโก้ ขนมไทยแสนอร่อย

101 by Tea Haus  > Food >  ตะโก้ ขนมไทยแสนอร่อย
0 Comments
ตะโก้

หนึ่งในขนมไทยที่หากินได้ง่าย หรือทำได้ไม่ยาก เหมาะสำหรับจัดในงานต่างๆ นั่นคือ ตะโก้ ซึ่งเป็นขนมหวาน ที่มีส่วนผสม คือแป้งกะทิและน้ำตาลทรายเป็นหลัก ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ตัวขนมเป็นแป้งและน้ำตาล และส่วนหน้าขนมเป็นกะทิ แป้งและเกลือส่วนผสมของตัวขนมสามารถผสมวัตถุดิบ อื่นเพื่อให้เกิดรสชาติที่หลากหลาย เช่น แห้วข้าวโพด เผือกหรือจะเพิ่มสีเขียวของใบเตย และมีชื่อเรียกตาม วัตถุดิบที่ผสมลงไป ขนมตะโก้มีแบบหลากหลายไส้ให้เลือกกิน ทั้งตะโก้เผือก ตะโก้แห้ว ตะโก้ข้าวโพด หรือจะเป็นตะโก้สาคู ถ้วยเล็ก ๆ หยิบจับใส่ปากคำเดียว แต่คนสมัยใหม่ไม่ค่อยนิยมรับประทานกันจึงทำให้หาทานอยากคนส่วนใหญ่มักจะนิยมซื้อมาใส่บาตรทำบุญกัน วันนี้จะมาบอกวิธีทำตะโก้แห้ว เผื่อว่าใครอยากจะลองฝึกฝีมือในการทำขนม หรืออยากจะเริ่มต้นอาชีพการขายขนมก็สามารถนำไปลองทำดูได้

วัตถุดิบ

ส่วนตะโก้

1. แป้งมัน 

2. แป้งข้าวเจ้า 

3. แห้ว 

4. น้ำใบเตย

5. น้ำตาลทราย

6. น้ำเปล่า

ส่วนหน้าตะโก้

1. แป้งข้าวเจ้า

2. กะทิ

3. น้ำตาลทราย

4. เหลือป่น

วิธีทำ

  1. หั่นแห้วเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าพักไว้ 
  2. ใส่น้ำลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟ ใส่น้ำตาลทราย ต้มจนเดือด และเหนียวเป็นน้ำเชื่อม เตรียมไว้
  3. ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน น้ำตาลทราย และน้ำใบเตยจนละลายเข้ากันดี กวนผสมจนแป้งสุกเหนียว และใส จากนั้นใส่แห้วลงคนผสมให้เข้ากัน ยกลงจากเตา ตักใส่กระทงใบเตยที่เตรียมไว้ ประมาณ 3/4 ของกระทง ตามด้วยหน้ากะทิจนเต็มพิมพ์ พักทิ้งไว้จนอุ่น จัดใส่จาน พร้อมรับประทาน
  4. สำหรับหน้ากะทิให้ใส่แป้งข้าวเจ้า กะทิ และเกลือป่นลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟใช้ความร้อนปานกลาง คนผสมจนข้น และเหนียว ยกลงจากเตา เตรียมไว้หยอดลง พักไว้สักครู่ก็สามารถจัดเสิร์ฟได้ 

ขนมตะโก้โบราณไม่ได้ตักหยอดในกระทงใบเตย สานเป็นทรงสี่เหลี่ยมอย่างที่นิยมกันทุกวันนี้ แต่คนสมัยก่อนเขาจะเย็บเป็นกระทงใบตอง หน้ากว้าง และชิ้นใหญ่กว่า ขนมตะโก้ในปัจจุบันจะมีขนาดที่เล็กและพอดีคำ โดยทั่วไปประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคลและพิธีต่างๆ ซึ่งเดี๋ยวสามารถหารับประทานได้เพียงแค่เดินเข้าไปในตลาด ตะโก้ที่นิยมทำขายมากที่สุดก็เห็นจะเป็นตะโก้ข้าวโพดและตะโก้สาคู สำหรับตะโก้แล้ว เป็นอีกหนึ่งขนมไทยที่หลายคนชื่นชอบเพราะความกลมกล่อมของรสชาติหวานจากตัวตะโก้ ผสมผสานกับรสชาติเค็มหน่อยๆ ของกะทิราดตะโก้ ทำให้ทานเข้าไปหนึ่งคำมีความเข้ากันเป็นอย่างดี และสามารถทานได้เรื่อยๆ เพราะรสชาติไม่หวานหรือไม่เค็มจนเกินไป